5 งานไม้( Woodwork)
ย้อนไปเมื่อปี 2008 ผมมีโอกาสไปโตเกียวเพื่อเรียนรู้การทำกีตาร์จากคุณ Yuichi Imai ช่างทำกีตาร์ชาวญี่ปุ่น เป็นเวลา 3 อาทิตย์ ความประทับใจที่สุดคือ ฝีมือการใช้เครื่องมืองานไม้ โดยเฉพาะพวกของมีคม กบ สิ่ว มีดญี่ปุ่น มันคมจริงๆ ความคมนี้ได้จากการลับด้วยมือทั้งหมด รอยต่อไม้เกือบทั้งหมดเป็นรอยต่อของผิวที่จบด้วยคมมีด เช่น การปิดไม้หลัง ก่อนติดกาวเพื่อปิดไม้หลังปกติช่างทำกีตาร์ทั่วไปใช้จานโค้งกระดาษทรายปรับผิวเพื่อให้ผิวสัมผัสระหว่างไม้ข้างและไม้หลังเรียบพอดีกัน แต่คุณ Imai ใช้กบท้องโค้งปรับผิว หลังจากนั้นจึงติดกาวโดยไม่ต้องใช้กระดาษทราย หรือแม้แต่โคังใต้ Bridge ก่อนติดกาวกับไม้หน้าได้รับการปรับโค้งโดยคมของใบกบเช่นกัน คุณ Imai มีกบประมาณ 10 ตัวใช้งานต่างๆกัน ในขั้นตอนการทำกีตาร์ทั้งหมด มีเพืยง 2 จุดในการติดกาวที่ใช้กระดาษทรายขัดก่อนติดกาวคือ Brace กับไม้หน้า และ Back bar กับไม้หลัง แต่เป็นการขัดเพียงด้านเดียวคือ ขัดที่ไม้หน้า และ ไม้หลัง หลังจากเห็นฝีมืองานไม้คุณ Imai ผมเห็นปัญหาในการทำกีตาร์ของตัวเอง ผมจึงเริ่มฝึกการใช้เครื่องมืองานไม้เพิ่ม ซื้อหนังสือเฉพาะทางมาอ่าน เช่น เกี่ยวกับกบ 1 เล่ม เกี่ยวกับการลับคม 1 เล่ม เป็นต้น
มีข้อสังเกตจุดหนึ่งสำหรับกีตาร์ดีๆ ส่วนใหญ่มีความปราณีต และสวยงาม สิ่งที่กล่าวมาจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าช่างทำกีตาร์ไม่มีความรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับงานไม้ บางครั้งมีคนถามว่า อยากทำกีตาร์จำเป็นไหมที่ต้องเป็นงานไม้มาก่อน คำตอบคือไม่จำเป็นแต่ต้องมาฝึกเพิ่มเติมให้ถึงขั้นที่เรียกว่า ชำนาญ
เรื่องงานไม้มีรายละเอียดดังนี้
การใช้เครื่องมือ พวกอุปกรณ์(Hand tool)ได้แก่ กบ สิ่ว ฆ้อน เลื่อย เครื่องมือวัด เป็นต้น เครื่องมือไฟฟ้า(Power tool)ได้แก่ เครื่องเลื่อยสายพาน เครื่องขัดกระดาษทรายตั้งโต๊ะ แท่นสว่าน เป็นต้น รวมถึงการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง การลับคม ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ
ทักษะงานไม้ ในเรื่อง การวัดและการกำหนดเส้น การเข้าไม้รูปแบบต่างๆ(Jointing) เทคนิคงานไม้ศึกษาวัสดุอุปกรณ์สำหรับงานไม้ได้แก่ กาว พุก เดือย ตะปูแบบต่างๆ เป็นต้น
งานเคลือบรักษาผิวไม้ การบวนการการเคลือบรักษาผิวได้แก่ การเตรียมผิว(Sanding) การเปิดรูเสี้ยน(Open porous) การอุดรูเสี้ยน(Fill porous) การรองพื่น(Sealing) การสร้างเนื้อ(Build layer) การขัดผิว(Rubbing) สำหรับการทำกีตาร์วัสดุการเคลือบรักษาผิวไม้ที่นิยมได้แก่ ยูรีเทน(Urethane) แล็คเกอร์(Lacquer) และ เชลแล็ก(Shellac)
แหล่งเรียนรู้
หนังสือ ช่างไม้ในบ้าน โดย ศิระ จันทร์สวาสดิ์,ศานิต ปันเขื่อนขันติย์,สุพัตร์ ศรีพงษ์สุทธิ์
หนังสือ Making & Mastering Wood Planes โดย David Finck
หนังสือ Complete Guide to Sharpening โดย Leonard Lee
หนังสือ Essential Guide to Woodwork โดย Chris Simpson
การศึกษาประวัติศาสตร์กีตาร์ไม่เพียง เกี่ยวกับตัวกีตาร์อย่างเดียว รวมถึงประวัติช่างทำกีตาร์ ประวัตินักเล่น ด้วย เพราะทุกอย่างมีความสัมพันธ์กัน ถ้ากีตาร์สายเหล็กควรอ่านประวัติการทำกีตาร์ของกีตาร์ Matin หรือถ้ากีตาร์คลาสสิกควรอ่านประวัติ Antonio de Torres ประโยชน์จากประวัติกีตาร์ทำให้รู้พัฒนาการของกีตาร์ในแต่ละยุคสมัย เข้าใจในเรื่องแบบกีตาร์มากขึ่น ซึ่งหมายถึง ในการทำกีตาร์ปัจจุบันเริ่มทำกีตาร์ 1ตัว ต้องมีแบบโครงสร้าง(Guitar plan) เราสามารถทำให้เหมือนตามแบบได้แต่เสียงอาจไม่ใช่ ถ้าเรารู้ถึงที่มาที่ไปของโครงไม้แต่ละตัวว่าพัฒนาการมาอย่างไรจุดไหนสำคัญ อาจถึงขั้นรู้ที่มาแนวความคิดและออกแบบของช่างทำกีตาร์ในอดีต ซึ่งในภายหน้าเราสามารถทดลอง ออกแบบตามกรอบความเข้าใจและค่านิยมตามแต่ละยุคสมัยได้
แหล่งเรียนรู้
หนังสือ Antonio de Torres Guitar Maker-His life&Work โดย Jose L. Romanillos
หนังสือ Inventing The American Guitar โดย Robert Shaw & Peter Szego
หนังสือ The Granada School of Guitar-Makers โดย Alberto Cuellar,David Gansz,Aaron Garcia,Angelo Gilardino,Javier Molina
หนังสือ Guitar Music,History,Construction and Players From the Renaissance to Rock โดย Tom and Mary Anne Evans
เป็นต้น
7ภาษาอังกฤษ ภาษาสเปน(Language)
ในปัจจุบันภาษาที่ 2 หรือ 3 เป็นเรื่องสำคัญแทบทุกสาขาอาชีพ ช่างทำกีตาร์เช่นเดียวกัน เพราะการทำกีตาร์ไม่ได้เกิดขึ้นในไทยเป็นที่แรก ต้นกำเนิดการทำกีตาร์อยู่ทางตะวันตก สเปนและอเมริกา ความรู้ต่างๆ มาจากหนังสือ วีดีโอ หรือแม้แต่การไปเรียนในต่างประเทศต้องใช้ภาษาอังกฤษเช่นกัน
ภาษาอังกฤษ มิใช่เป็นเพียงสื่อในการเรียนรู้อย่างเดียว เมื่อถึงเวลาที่ต้องไปร่วมงานกีตาร์ในต่างประเทศเพื่อขายงาน ต้องใช้ภาษาอังกฤษเช่นกัน
สรุปทััง 7 เรื่องที่กล่าวมานั้น สำคัญมากน้อยต่างกันไป แต่นี้แค่สำหรับผู้เริ่มต้นที่ดีเท่านั้น รายละเอียดในอาชีพนี้ยังมีอีกมาก ที่สำคัญเราควรเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดช่วงชีวิต