Friday, November 24, 2017

การดูแลรักษากีตาร์โปร่งและกีตาร์คลาสสิก ตอนที่ 4 (จบ)

              กลับมาพบกันอีกครั้งครับ ครั้งที่แล้วการดูแลรักษากีตาร์โปร่งและกีตาร์คลาสสิก คุยเรื่องการทำความสะอาด Fret และ Fingerboard วันนี้มาดูในหัวข้อการบำรุงรักษา
   
3.การบำรุงรักษาทั่วไป

     3.1 การดูแล Tuning Machine  หรือที่เราเรืยกภาษาไทยว่า"ลูกบิด"
Tuning Machine ส่วนใหญ่ประกอบด้วยโลหะ อาจมีส่วนใบบิดเป็นพลาสติก ไม้ หรือมุก ส่วนสำคัญสุดคือ เฟือง กรณีเป็นระบบเฟืองปิดที่ใช้กับกีตาร์สายเหล็กส่วนใหญ่อาจไม่ต้องดูแลมาก แต่แบบระบบเฟืองเปิดที่ใชักับกีตาร์คลาสสิก และ สายเหล็กบางรุ่น ใช้ไปนานๆ จะมีพวกขึ้ฝุ่นหรือพวกสนิมอ๊อกไซด์ขึ้นทำให้เกิดการติดหรือการฝืดขึ้น วิธีแก้ไขในจุดนี้สามารถใช้พวกจารบีขาวทาหล่อลืื่นในฟันเฟืองและเกลียวขับเฟือง จากนั้นหมุนเฟืองหลายรอบเพื่อให้จารบีเข้าไปทั่วทุกจุดของระบบเฟือง เสร็จแล้วควรเช็ดจารบีที่เกินออกเพราะถ้าทิ้งไว้พวกฝุ่นเข้าไปติดง่าย ในกรณีกีตาร์คลาสสิกให้ใส่จารบีในช่องหัวสำหรับใส่แกนตัวผูกสายด้วย เพื่อลดแรงเสียดทานส่งผลให้ลดแรงกดบนตัวเฟือง ยืดอายุเฟืองและผู้เล่นไม่ต้องออกแรงมาก  ในคู่มือการบำรุงรักษาของ Martin แนะนำให้ใช้  petroleum jelly สำหรับการหล่อลื่น ผมมาลองหาดูพบว่าในบ้านเราเป็นวาสลีน ตามรูปครับ
    ควรตรวจสอบ น็อต สกรู ถ้าหลวมอาจเกิดเสียงที่ไม่ต้องการ และ ส่งผลให้อายุการทำงานของเฟืองสั้นลงด้วย ควรขันกวดด้วยแรงพอดี อย่าให้แน่นไป เพราะถ้าแน่นไปจะทำให้เฟืองฝืดมากต้องใช้แรงบิดเยอะ
    ส่วนที่เป็นโลหะที่เกิดสนิมอ๊อกไซด์ใช้ครีมขัดโลหะได้ แต่ไม่ควรขัดมากกรณีโลหะที่เคลือบสีทอง เพราะทำให้สีจางลงได้แลดูไม่สวย ต้องเข้าใจด้วยว่าการขัดนั้นเป็นการขัดตัวเคลือบผิวด้านนอกสุดออก ขัดมากเนื้อเคลือบก็ออกมาก ไม่ใช่การเคลือบที่เป็นการเสริมเนื้อตัวเคลือบเพิ่ม

      3.2 การเดินทาง
   การเดินทางทั่วไประยะเวลาสั้นๆ
ควรใช้กล่อง Hard-case ใส่เพื่อลดโอกาสสิ่งภายนอกจะทำอันตรายกับกีตาร์  ไม่ว่า น้ำ ความชื้น ความแห้ง การกระแทกต่างๆ จากประสบการณ์ที่มีเจ้าของกีตาร์นำมาซ่อมเนื่องจากการเดินทาง เช่น
     -เอากีตาร์ไว้กระโปงหลังรีบปิดฝากระเโปงกระแทกกีตาร์แตก
     -ทิ้งไว้หลังกระโปงหลังเป็นอาทิตย์ เป็นเดืิอน ชิ้นส่วนหลุด เพราะความร้อนทำให้กาวเสื่อม
     - ถือกีตาร์ซ้อนมอเตอร์ไซด์ล้ม
     - ปิดฝากล่องไม่เรียบร้อย รีบยกทำให้กีตาร์หล่นจากกล่อง
   เป็นต้น ควรหลีกเลื่ยงกรณีตัวอย่างข้างบนครับ อีกตัวอย่างที่ชอบละเลยกัน  ทิ้งกีตาร์ไว้ในรถซึ่งจอดไว้ในที่ร้อน เช่น ทิ้งกีตาร์ไว้ในรถขณะลงไปทานข้าว หรือไปทำธุระอย่างอื่น  กรณีแบบนี้ทำครั้งเดียวอาจไม่มีผลต่อกีตาร์ แต่ทำซ้ำๆ หลายๆ ครั้งกีตาร์จะพังได้ในที่สุดครับ

   สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน
บ่อยครั้งผมจะเช็ดเที่ยวบินว่าใช้เครื่องบินรุ่นไหนและเช็คว่าที่เก็บกระเป๋าเหนือหัวมีขนาดใหญ่พอสำหรับใส่กีตาร์ได้หรือไม่ เช่น สายการบินแอร์เอเชียใช้เครื่องบิน Airbus 320 ทั้งหมดในการบินระยะสั้น รุ่นนี้ใส่กีตาร์ได้ ส่วนบินระยะยาว Boing 737-300 ก็ใส่ได้   และสำหรับการเดินทางจะพยายามให้ได้บินเที่ยวเดียวถึงไม่ต่อเครื่องที่ไหน เพื่อลดโอกาสอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับกีตาร์เนื่องจากการเคลื่อนย้ายกีตาร์หลายครั้ง
    สิ่งที่เราควรทำกับกีตาร์เมื่ิอเดินทางโดยเครื่องบิน คือ ควรหย่อนสายกีตาร์เพื่อขจัดความเครียดที่ไม้คอกีตาร์  กรณีสายเหล็กควรคลาย Truss rod ด้วย และใส่กล่อง Hard case และเป็น Hard case แบบ Flight case ยิ่งดีที่สุด ในบ้านเรามีผู้ผลิต Flight case อย่างดี คือ Visesnut case 
     ถ้าเป็นไปได้ขอทางสายการบินให้ถือกีตาร์ขึ้นเครืองด้วย  แต่ถ้าไม่ได้ ควรห่อเพิ่มเติมและใช้บริการ Oversize ช่องทางนี้พนักงานเคลื่อนย้ายกีตาร์โดยการยก ไม่ผ่านสายพาน  กรณีส่งโดยบริษัทข่นส่ง ควรเพ่ิ่มกันกระแทกและใส่กล่องกระดาษอีกชั้นหนึ่ง

สำหรับการดูแลรักษากีตาร์โปร่งและกีตาร์คลาสสิกขอจบเพียงเท่านี้ พบกันใหม่ครับ
good luck.