Monday, September 21, 2015

ช่างทำกีตาร์ควรเรียนรู้อะไรบ้าง (ตอน 1)

     สวัสดีครับ บทความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอาชีพช่างทำกีตาร์ หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า "Guitar maker" ,"Luthier" หรือ ในภาษาสเปน"Guitarrero"  คำว่า Guitar maker และ Guitarraro มีความหมายเหมือนกันคือ ช่างทำกีตาร์ ส่วนคำว่า Luthier รากศัพท์เดิมมาจากภาษาฝรั่งเศษ "Luth"(1)  Luthier มีความหมายว่า ช่างทำและซ่อมเครื่องสาย อาจเป็น Guitar Violin Lute เป็นต้น แบ่งเป็นสองสายช่าง ได้แก่ ช่างทำเครื่องสี(ฺBowed instrument) และ ช่างทำเครื่องดีด(Plucked instrument)  โดยสรุปคำว่า Luthier มีความหมายกว้างและครอบคลุมกว่า guitar maker
    บทความแรกและคิดว่าสำคัญต่อช่างทำกีตาร์ที่ควรรู้ คือ ช่างทำกีตาร์ควรเรียนรู้อะไรบ้าง เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นมืออาชีพ(ไม่ใช่ศิลปินหรือ Artist อย่างที่คนทั่วไปคิด) ผมแบ่งเป็นหัวข้อ 7 หัวข้อดังนี้

     1 การทำกีตาร์ (Guitar making)
       เป็นหัวใจสำคัญที่สุด การทำกีตาร์ เป็นการเรียนรู้ถึงขั้นปฏบัติการกระบวนการทำกีตาร์ ตัังแต่ การหา,การเลือกและการเตรียมวัตถุดิบ(Material preparing)   การขึ้นรูป เตรียมชินงาน(Guitar part preparing) การประกอบ(Assembly) การเคลือบรักษา(Finishing) และ การปรับแต่ง(Set up)   การเรียนรู้การทำกีตาร์ทำได้หลายรูปแบบ ได้แก่ เรียนโดยตรงจากช่างทำกีตาร์  อ่านหนังสือ พูดคุยขอคำแนะนำจากช่าง เรียนรู้ทางคลิปวีดีโอจากทางอินเตอร์เน็ท เป็นต้น
    แหล่งเรียนรู้
-หนังสือ Guitar Making Tradition and Technology โดย Jonathan Natelson และ William Cumpiano 
-หนังสือ Making Master Guitars โดย Roy Courtnall
-หนังสือ Classical Guitar Making: A Modern Approach to Traditional Design โดย John S. Bogdanovich
-เรียนทางเว็บไซต์ O'Brien Guitars Online Courses. 
-เรียนทำกีต้าร์ในประเทศไทยมีราคาตั้งแต่ 35000-90000 บาท
      เชียงใหม่ -ช่างหนุ่ม
-เรียนทำกีตาร์ในต่างประเทศ
        Malaysia -Jeffrey Yong
        Spain -Henner Hagenlocher Granada Luthier School
เป็นต้น. 
 
     2.ทฤษฎีอคูสติกของกีตาร์ (Guitar Acoustic)
        อคูสติกของกีตาร์ศึกษาเกี่ยวกับ เรื่องของพื้นฐานของเสียง คุณภาพของเสียง การกำเนิดเสียง การได้ยินของหู คุณสมบัติของสายกีตาร์ การทำงานของกีตาร์  ธรรมชาติการสั่นของไม้ โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ช่วยในการเรียนรู้ เพื่อเสริมความเข้าใจการทำกีตาร์ ช่วยให้แยกแยะออกว่า เสียงอย่างไรดี อย่างไรไม่ดี โดยมีเหตุผลอธิบายที่ชัดเจนผู้อื่นสามารถเข้าใจได้ตรงกัน และช่วยให้เรามีแนวทางพัฒนากีตาร์ของเราให้ดียิ่งขึ้น เช่น ความรู้เรื่องการสั่นพื้นฐานของไม้ นำไปประยุกต์สำหรับการ Tap tone ทำให้รู้ตำแหน่งที่จับแล้วไม่รบกวนการสั่นของไม้ เพื่อให้เราได้ยินคุณภาพเสียงการสั่นของไม้ได้เต็มที่ และความรู้เรื่องคุณภาพของเสียง ทำให้เรารู้ว่าจะฟังอย่างไร อย่างเข้าใจ เป็นต้น
   แหล่งเรียนรู้
-เว็บไซต์ Acoustic for violin and guitar maker จาก KTH School of Science and Communication
-เว็บไซต์ Guitar acoustic จาก UNSW Australia (The University of New South Wales)
 
   วันนี้ขอจบเพียง 2 หัวข้อครับ พบกันคราวหน้าผู้เขียนจะพยายามเขียนให้ได้อย่างน้อย 1 เรื่องต่อ 1 อาทิตย์ หวังว่าผู้อ่านจะได้ความรู้และความเข้าใจยิ่งขึ้น พบกันในตอนต่อไป

อ้างอิง
(1)    https://en.wikipedia.org/wiki/Luthier