Sunday, September 27, 2015

ช่างทำกีตาร์ควรเรียนรู้อะไรบ้าง (ตอน 2)

      สวัดีดีครับ หลังจากบทความในตอนที่ 1 ได้เผยแพร่ออกไปได้รับความสนใจมาก ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย วันนี้มาต่อในหัวข้อที่ 3 และ 4 ครับ
      
     3 ความรู้เรื่องไม้ (wood property)
   ความรู้เรื่องไม้สำหรับช่างทำกีตาร์มีความจำเป็น เปรียบกับ คนปรุงอาหารถ้าไม่รู้จักคุณสมบัติวัตถุดิบสำหรับนำมาใช้แล้วจะทำอาหารออกมาดีได้อย่างไร ความรู้เรื่องไม้โดยทั่วไปเป็นเรื่องคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น ลักษณะโครงสร้าง ความหนาแน่น ความแข็ง การนำเสียง การหดขยาย ความชื่นในเนื้อไม้ เป็นต้น หรือแม้แต่เรื่องชื่อทางวิทยาศาสตร์ การเจริญเติบโตของต้นไม้ วิธีการเก็บไม้ แหล่งกำเนิดของไม้ ก็สำคัญเช่นกัน เราสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพการกีตาร์ได้ 
    ตัวอย่างแรกเรื่องแหล่งกำเนิดของไม้ เช่นไม้ Indian rosewood. แหล่งกำเนิดในอินเดีย เราควรชื้อจากแหล่งกำเนิดเพราะราคาถูกกว่าที่ซื้อจากร้านขายไม้ในอเมริกา และยุโรป
      อีกตัวอย่าง ไม้สำหรับทำเครื่องดนตรีควรตัดแบบ quarter saw(เลื่อยตามรัศมี) และไม่ run out (เกิดมุมเสี้ยน) เพราะเมื่อไม้หดหรือขยายตัว ไม้จะทรงรูปไว้เหมือนเดิมหรือเกิดการบิดเบี้ยวน้อยที่สุด เมื่อนำมาประกอบกันกีตาร์จะอยู่ทรง ไม่บิดเบี้ยวง่ายเมื่อความชื้นในอากาศเปลี่ยนแปลง(ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้กีตาร์แตก) และการตัดลักษณะนี้ ไม้จะมีความแข็งแรงที่สุดและใสกบง่ายไม่เกิดการย้อนเสี้ยน ส่วนเรื่องความเร็วเสียงผ่าน การตัดลักษณะนี้เสียงผ่านได้เร็วที่สุด ส่งผลให้กีตาร์มีการตอบสนองไวต่อผู้เล่น เป็นต้น
      จากสองตัวอย่างข้างต้นเป็นการนำความรู้เรื่องไม้มาอธิบาย ทำให้มีความเข้าใจยิงขึ้นและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ในเครื่องดนตรีอื่นๆ เช่นกัน  
     แหล่งความรู้
-หนังสือ คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของเนื้อไม้ โดย วิรัช ชื่นวาริน,ภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ,ในหน้า 263-288 เรื่องสมบัติที่เกี่ยวกับเสียง เขียนเรื่องเครื่องดนตรีไว้น่าสนใจ ,ฉบับ e-book 
-หนังสือ Understanding Wood: A Craftsman's Guide to Wood Technology by R.Bruce Hoadley
เป็นต้น.

     4.ศึกษาการเล่นกีตาร์ (Guitar Play)
     ผมใช้คำว่าศึกษาการเล่นกีตาร์ เป็นคำมีความหมายกว่้าง ตั้งแต่
- การฝึกเล่นกีตาร์
   ช่างควรเล่นกีตาร์ได้ อย่างน้อยเพื่อทดสอบเสียงกีตาร์หลังจากทำเสร็จ อาจเล่นไม่เก่งไม่เป็นไร แต่ในบางครั้ง ผู้มาซื้อกีตาร์เล่นไม่ค่อยเป็น ช่างควรเล่นได้บ้างสักเพลงเป็นการแสดงศักยภาพเสียงกีตาร์ เพื่อเสริมความมั่นใจของผู้มาซื้อ
-เรียนรู้วีธีการเล่นกีตาร์
   ช่างบางคนเล่นกีตาร์ไม่เป็น แต่ต้องรู้ว่าเสียงอย่างไรที่ผู้เล่นต้องการ รู้ว่าขนาด Nut  รูปแบบคอ ระยะระหว่างสาย ความสูงของสาย scale ที่แตกต่างกัน  มีผลต่อผู้เล่นอย่างไร เพราะตั้งแต่อดีตนั้น ส่วนใหญ่การพัฒนาการของกีตาร์เกิดจากความต้องการของผู้เล่น ช่างทำกีตาร์มีหน้าที่คิดและทำกีตาร์ที่สนองความต้องการของผู้เล่น
-ฟังเพลง
  เนื่องจากเพลงมีหลายแนวซึ่งในแต่ละแนวต้องการเสียงกีตาร์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นกีตาร์ 1 ตัวไม่อาจตอบสนองได้ทุกแนว ผู้เล่นกีตาร์มืออาชีพบางครั้งไม่ได้มีกีตาร์เพียงตัวเดียว จึงเป็นโอกาสของช่างทำที่ต้องทำกีตาร์เสียงในลักษณะต่างกัน บางครั้งต้องคุยกับผู้เล่นว่าต้องการเสียงกีตาร์อย่างไร และพยายามศึกษาและทำให้ได้
     แหล่งความรู้
-หนังสือเรียนเล่นกีตาร์
-โรงเรียนสอนเล่นกีตาร์
-คุยกับศิลปินกีตาร์ในงานกีตาร์
   
     ในครั้งหน้าจะเป็นตอนสุดท้ายของหัวข้อนี้ เหลืออีก 3 หัวข้อ ติดตามกันต่อไปครับว่าเป็นเรื่องอะไร?





Monday, September 21, 2015

ช่างทำกีตาร์ควรเรียนรู้อะไรบ้าง (ตอน 1)

     สวัสดีครับ บทความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอาชีพช่างทำกีตาร์ หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า "Guitar maker" ,"Luthier" หรือ ในภาษาสเปน"Guitarrero"  คำว่า Guitar maker และ Guitarraro มีความหมายเหมือนกันคือ ช่างทำกีตาร์ ส่วนคำว่า Luthier รากศัพท์เดิมมาจากภาษาฝรั่งเศษ "Luth"(1)  Luthier มีความหมายว่า ช่างทำและซ่อมเครื่องสาย อาจเป็น Guitar Violin Lute เป็นต้น แบ่งเป็นสองสายช่าง ได้แก่ ช่างทำเครื่องสี(ฺBowed instrument) และ ช่างทำเครื่องดีด(Plucked instrument)  โดยสรุปคำว่า Luthier มีความหมายกว้างและครอบคลุมกว่า guitar maker
    บทความแรกและคิดว่าสำคัญต่อช่างทำกีตาร์ที่ควรรู้ คือ ช่างทำกีตาร์ควรเรียนรู้อะไรบ้าง เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นมืออาชีพ(ไม่ใช่ศิลปินหรือ Artist อย่างที่คนทั่วไปคิด) ผมแบ่งเป็นหัวข้อ 7 หัวข้อดังนี้

     1 การทำกีตาร์ (Guitar making)
       เป็นหัวใจสำคัญที่สุด การทำกีตาร์ เป็นการเรียนรู้ถึงขั้นปฏบัติการกระบวนการทำกีตาร์ ตัังแต่ การหา,การเลือกและการเตรียมวัตถุดิบ(Material preparing)   การขึ้นรูป เตรียมชินงาน(Guitar part preparing) การประกอบ(Assembly) การเคลือบรักษา(Finishing) และ การปรับแต่ง(Set up)   การเรียนรู้การทำกีตาร์ทำได้หลายรูปแบบ ได้แก่ เรียนโดยตรงจากช่างทำกีตาร์  อ่านหนังสือ พูดคุยขอคำแนะนำจากช่าง เรียนรู้ทางคลิปวีดีโอจากทางอินเตอร์เน็ท เป็นต้น
    แหล่งเรียนรู้
-หนังสือ Guitar Making Tradition and Technology โดย Jonathan Natelson และ William Cumpiano 
-หนังสือ Making Master Guitars โดย Roy Courtnall
-หนังสือ Classical Guitar Making: A Modern Approach to Traditional Design โดย John S. Bogdanovich
-เรียนทางเว็บไซต์ O'Brien Guitars Online Courses. 
-เรียนทำกีต้าร์ในประเทศไทยมีราคาตั้งแต่ 35000-90000 บาท
      เชียงใหม่ -ช่างหนุ่ม
-เรียนทำกีตาร์ในต่างประเทศ
        Malaysia -Jeffrey Yong
        Spain -Henner Hagenlocher Granada Luthier School
เป็นต้น. 
 
     2.ทฤษฎีอคูสติกของกีตาร์ (Guitar Acoustic)
        อคูสติกของกีตาร์ศึกษาเกี่ยวกับ เรื่องของพื้นฐานของเสียง คุณภาพของเสียง การกำเนิดเสียง การได้ยินของหู คุณสมบัติของสายกีตาร์ การทำงานของกีตาร์  ธรรมชาติการสั่นของไม้ โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ช่วยในการเรียนรู้ เพื่อเสริมความเข้าใจการทำกีตาร์ ช่วยให้แยกแยะออกว่า เสียงอย่างไรดี อย่างไรไม่ดี โดยมีเหตุผลอธิบายที่ชัดเจนผู้อื่นสามารถเข้าใจได้ตรงกัน และช่วยให้เรามีแนวทางพัฒนากีตาร์ของเราให้ดียิ่งขึ้น เช่น ความรู้เรื่องการสั่นพื้นฐานของไม้ นำไปประยุกต์สำหรับการ Tap tone ทำให้รู้ตำแหน่งที่จับแล้วไม่รบกวนการสั่นของไม้ เพื่อให้เราได้ยินคุณภาพเสียงการสั่นของไม้ได้เต็มที่ และความรู้เรื่องคุณภาพของเสียง ทำให้เรารู้ว่าจะฟังอย่างไร อย่างเข้าใจ เป็นต้น
   แหล่งเรียนรู้
-เว็บไซต์ Acoustic for violin and guitar maker จาก KTH School of Science and Communication
-เว็บไซต์ Guitar acoustic จาก UNSW Australia (The University of New South Wales)
 
   วันนี้ขอจบเพียง 2 หัวข้อครับ พบกันคราวหน้าผู้เขียนจะพยายามเขียนให้ได้อย่างน้อย 1 เรื่องต่อ 1 อาทิตย์ หวังว่าผู้อ่านจะได้ความรู้และความเข้าใจยิ่งขึ้น พบกันในตอนต่อไป

อ้างอิง
(1)    https://en.wikipedia.org/wiki/Luthier