Friday, February 24, 2017

การดูแลรักษากีตาร์โปร่งและกีตาร์คลาสสิก ตอนที่ 2

      สวัสดีครับมาคุยกันต่อเรื่องความชื้นในอากาศต่ออีกนิดครับ เมื่ออาทิตย์ที่แล้วมีโอกาสไปพบนักเล่นกีตาร์คลาสสิกที่ประเทศมาเลเซีย และคุยถึงเรื่องปัญหากีตาร์ที่พบส่วนใหญ่ไม้หน้าบวมเนื่องจากความชื้นในอากาศสูง ค่อนข้างมีปัญหามากกว่าประเทศไทยเพราะที่นั่นฝนตกยาวนาน และมีทะเลล้อมรอบ ผมจึงถามเขาว่าทำอย่างไร เพื่อนผมเขาแนะนำตัวดูดความชื้นแบบห่อ  มีขายที่ Daiso ราคาบ้านเราตก 60 บาท ใช้งานได้ 1-2 เดือน ดังรูปครับ


ในห่อคือ แคลเซี่ยมคลอไรด์(CaCl2) 1 ห่อนี้สามารถดูดความชื้นจากอากาศได้ 150 ml ขอดีคือห่อไม่ใหญ่มาก สามารถเก็บไว้ในกล่องกีตาร์ได้ และมีความสามารถในการดูดความชื้นได้ 70-80 % ของน้ำหนัก  เมื่อเทียบกับ Silica gel, Silica gel มีความสามารถในการดูดความชื้นได้ 24-40 % ของน้ำหนัก แต่อัตราการดูดอาจช้ากว่า Silica gel




2.การทำความสะอาด

     การทำความสะอาดกีตาร์แต่ละส่วนแบ่งได้ดังนี้
       2.1 ทำความสะอาด Body Neck Top
เป็นส่วนที่มีการเคลือบรักษาผิวไม้ ตัวเคลือบที่นิยมในกีตาร์ได้แก่ Shellac, Nitro-Lacquer และ Polyurethane  การทำความสะอาดทั้ง 3 ตัวนี้ ใช้ผ้าฝ้าย 100 % ยิ่งได้ผ่านการซักแล้วยิ่งดี เช็ดให้ทั่วและเน้นบริเวณที่สกปรกมาก ส่วนใหญ่เป็นจุดที่ร่างกายสัมผัส เช่น บริเวณขอบไม้หน้าด้านซ้ายจุดที่วางแขนขวา หลังคอ ไม้หลังที่ติดกับหน้าอก ไม้ข้างด้านขวาส่วนติดกับคอ   ถ้าเช็ดไม่ออกอาจใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดต่อได้ และควรใช้ผ้าแห้งเช็ดตามทันที วิธีนี้ไม่สร้างความเสียหายให้ตัวเคลือบรักษาผิวกีตาร์

          กรณีคราบสกปรกที่ไม่ละลายในน้ำคือไม่สามารถเช็ดออกโดยน้ำหมาดๆ เช่น คราบเหงื่อ รอยนิ้วมือ อาจใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นของปิโตเลียม ได้แก่ Mineral Spirits  Lemon oil รูปแบบน้ำ(ไม่ได้มาจากน้ำมันของมะนาวแต่เป็นผลิตภัณฑ์ได้จากกระบวนการกลั่นของปิโตเลียมใส่กลิ่นมะนาว) หรือ Pledge กลิ่นมะนาว หรือกลิ่นส้ม(ตัวนี้มีSilicone ผสมอยู่เล็กน้อย) Naphtha (ในบ้านเราอาจหาซื้อได้ในรูปของน้ำมันไฟเช็ค) การใช้ผลิตภัณฑ์ควรหยดใส่บนผ้าก่อนจึงเช็ดลงบนตัวกีต้าร์ ใช้ทำความสะอาดเฉพาะจุดที่มีคราบเท่านั้น และไม่ควรใช้กับตัวเครือบผิวที่เป็น Shellac


       
     มีความสับสนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของ Silicone หลายบริษัทที่ผลิตกีตาร์ไม่แนะนำให้ใช้ บางครั้งให้เหตุผลว่า มันจะทำลาย ตัวเครื่องผิว แต่จากที่ผมอ่านดูจากหลายๆ แหล่งขอมูล หนังสือ อินเตอร์เน็ต จริงๆ แล้ว Silicone ไม่ทำลายตัวเคลือนผิว และ ที่ทราบบางตัวเคลือบรักษาผิวยังมีส่วนผสมของ Silicone แต่ปัญหาจริงๆ ของ Silicone ทำให้เกิด Fish eye เวลาซ่อมตัวเคลือบ เนื่องจากบริเวณที่มี Silicone อยู่จะมีแรงตึงผิวน้อยทำให้ตัวเคลือบผิวไม่ค่อยติด ดังรูปทางซ้ายมือ (จากหนังสือ Understanding Wood Finishing) แต่มีวิธีแก้ไขสำหรับปัญหานี้(อ่านดูในหนังสือ Understanding Wood Finishing หน้า 146-147)



       ถ้าต้องการขจัดรอยขีดขวดพวกรอบขนแม้ว อาจใช้น้ำยาขัด ( Polishing ) น้ำยาพวกนี้มีผงขัดเล็กๆ ผสมอยู่ หรือบางครั้งอาจเป็นรูปแบบครีม เมื่อเราขัดด้วยน้ำยาขัด ผงขัดในน้ำยาจะขัดบริเวณรอบรอยขีดข่วนออกไปทำให้ตัวเครือบผิวกีตาร์อยู่ในระดับเดียวกัน รอยขนแมวก็จะหายไป วิธีการใช้น้ำยาขัดนี้ไม่ควรทำบ่อยเพราะเป็นการทำลายตัวเคลือบรักษาผิวกีตาร์ (ทำให้ตัวเคลือบบางลง) ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการรักษาเนื้อไม้ลดลง ยิ่งกรณี ตัวเคลือบเป็น Shellac ต้องระวังมากเนื่องจากเป็นการเคลือบที่บางมาก น้ำยาขัดสำหรับ Shellac ที่แนะนำคือ NOVUS เบอร์ 2( อันนี้ดูจากวีดีโอสอน French polish ของคุณ Ron Fernandez ) ส่วน Lacquer และ Polyurethane อาจใช้น้ำยาขัดสำหรับกีตาร์ที่ขายในท่องตลาดยี่ห้อต่างๆ ได้หมด เช่น ของ Gibson, Planet Wave,Dunlop,Ernieball เป็นต้น

   ยังไม่หมดครับยังมีอีก พบกันใหม่โอกาสหน้า :)
     
แหล่งความรู้เพิ่มเติม
http://acousticguitar.com/how-to-clean-your-guitar/
http://www.wikihow.com/Clean-a-Guitar
http://www.guitaradventures.com/how-to-clean-an-acoustic-guitar